โครงการนวัตกรรมสำหรับเมืองและชุมชน ประจำปี 2565

โครงการนวัตกรรมสำหรับเมืองและชุมชน ประจำปี 2565
(CITY & COMMUNITY INNOVATION CHALLENGE 2022)

เปิดรับสมัคร 1 สิงหาคม – 30 กันยายน 2564

เสนอขอรับทุนได้สูงสุดถึง 1.5 ล้านบาท/โครงการ

ติดตามรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://social.nia.or.th/2021/city65/

ฝ่ายนวัตกรรมเพื่อสังคม NIA กำลังเฟ้นหาไอเดียนวัตกรรมดีๆ ที่สามารถผลักดันไปสู่การแก้ไขปัญหาสังคมในมิติต่างๆ ที่กำลังเกิดขึ้นจริง ภายใต้โครงการ “นวัตกรรมสำหรับเมืองและชุมชนปี 2565” (City & Community Innovation Challenge 2022)

นวัตกรรมศิลปะ วัฒนธรรม และมานุษยวิทยา

โดยมีหัวข้อที่เปิดรับ ได้แก่

1. ความหลากหลายทางชาติพันธุ์
​​​​​​​2. การยกระดับภูมิปัญญาพื้นถิ่น
3. ทัศนศิลป์
4. ศิลปะการแสดง
5. ศาสนา


นวัตกรรมบริการด้านสุขภาพและสวัสดิการเพื่อสังคม

โดยมีหัวข้อที่เปิดรับ ได้แก่
1. การดูแลสุขภาพสำหรับผู้ด้อยโอกาส
2. นวัตกรรมสำหรับการส่งเสริมสุขภาพ
3. หุ่นยนต์ทางการแพทย์สำหรับกลุ่มเปราะบาง
4. นวัตกรรมข้อมูลด้านสุขภาพ
5. แพลตฟอร์มสวัสดิการและประกันทางด้านสุขภาพ
 

นวัตกรรมเพื่อชีวิตที่มีความสุข 

โดยหัวข้อที่เปิดรับ ได้แก่
1. โอกาสในการทำงานที่มีคุณภาพ
2. การใช้ชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
3. การกระตุ้นพลังชีวิตด้วยกีฬาและการออกกำลังกาย
4. มิตรภาพของสัตว์เลี้ยง
5. ความสุขของการอยู่อย่างสันโดษ
 

คุณสมบัติของผู้เสนอโครงการ

  1. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มีการทำงานร่วมกับภาคเอกชนหรือภาคมหาวิทยาลัย เพื่อขับเคลื่อนพันธกิจขององค์กรปกครองนั้นด้วยนวัตกรรม
  2. องค์กรเอกชน หรือ มหาวิทยาลัย ที่มีส่วนร่วมกับเมืองหรือชุมชน มีการทำงานร่วมกับคนในพื้นที่เพื่อสร้างรายได้ หรือประโยชน์ให้กับพลเมือง โดยใช้นวัตกรรมเป็นตัวขับเคลื่อน
  3. มูลนิธิ สมาคม วิสาหกิจชุมชน หรือสหกรณ์ ที่ดำเนินการพัฒนานวัตกรรมในระดับพื้นที่ และส่งผลกระทบอันเป็นประโยชน์ต่อสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม

รูปแบบการสนับสนุน

เป็นการเปิดรับข้อเสนอโครงการนวัตกรรม ที่สามารถแก้ปัญหาสำหรับเมืองและชุมชนในหัวข้อที่สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) เป็นผู้กำหนด โดยผู้ผ่านเกณฑ์การสนับสนุนจะได้รับเงินสนับสนุนเพื่อดำเนินโครงการมูลค่าไม่เกิน 1,500,000 บาทต่อโครงการซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์การสนับสนุนโครงการที่สำนักงานฯ กำหนด ดังนี้

  • การจ่ายเงินเพื่อให้การสนับสนุนผู้เข้าร่วมโครงการ จะเป็นลักษณะการเบิกค่าใช้จ่ายย้อนหลัง (reimbursement) ซึ่งผู้ได้รับการสนับสนุนจะต้องออกค่าใช้จ่ายในโครงการแต่ละงวดไปก่อนตามแผนงาน แล้ว สนช. จะทำการเบิกจ่ายให้เป็นรายงวด
  • กรณีผู้ขอรับทุนเป็นภาคเอกชน จะต้องแสดงค่าใช้จ่าย (In-Cash) ส่วนของผู้ขอรับทุนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 25 ของมูลค่าโครงการ
  • ไม่สามารถขอรับการสนับสนุนในนามของนักวิจัยโดยตรงได้ โดยผู้ยื่นขอรับการสนับสนุนต้องเป็นหน่วยงานที่นักวิจัยสังกัดอยู่เท่านั้น

ที่มา: https://www.nia.or.th/city-community-innovation-challenge-2022

Let's get cracking