เค้าโครง
ระบบการจัดการเค้าโครง ช่วยให้คุณสามารถเปลี่ยนข้อความ หรือปรับเปลี่ยนเค้าโครงของเว็บไซต์ได้
เช่น การปรับเปลี่ยนตำแหน่งเค้าโครงที่หน้าบ้านให้เรียงตามลำดับที่ต้องการ
1. ปุ่มเค้าโครง: ปุ่มเลือกสลับระหว่าง เค้าโครง กับเค้าโครงบางส่วน
(คู่มือ เค้าโครงบางส่วน ที่ https://kb.salesone.co/th/c/kb/layout_partail)
2. ปุ่มเพิ่มเค้าโครง: ใช้สำหรับเพิ่มเค้าโครงนอกเหนือจากแม่แบบเค้าโครงที่มีการใส่ไว้ให้
3. ปุ่มข้อความเค้าโครง: ใช้สำหรับค้นหาข้อความ เพื่อทำการแก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงข้อความ ที่มีการใส่ไว้ให้
4. ปุ่มอัปเดตแคช: หลังทำการเปลี่ยนแปลงข้อมูลต่าง ๆ ในเมนูเค้าโครง ต้องกดปุ่มอัพเดทแคช เพื่อให้ตัวระบบอัพเดทค่าด้วย
5. ปุ่มดำเนินการ: เป็นปุ่มสำหรับจัดการตัวเค้าโครงที่มีการสร้างไว้แล้ว
1. ปุ่มเค้าโครง
ปุ่มเลือกสลับระหว่าง เค้าโครง กับเค้าโครงบางส่วน
2. ปุ่มเพิ่มเค้าโครง
ใช้สำหรับเพิ่มเค้าโครงนอกเหนือจากแม่แบบเค้าโครงที่มีการใส่ไว้ให้
วิธีใช้งาน: ทำการกดปุ่มเพิ่มเค้าโครง เมื่อกดจะมีหน้าต่างขึ้นมาให้กรอกรายละเอียด
1) Title: ใส่ชื่อเค้าโครง แบ่งตามภาษา เช่น Title (th) เป็นที่ใส่ชื่อหน้าภาษาไทย
2) Page: เลือกรูปแบบ Page มี Default เป็นค่าเริ่มต้น
3) Status: เลือก Show เพื่อให้แสดงเค้าโครง หรือเลือก Draft เพื่อทำการซ่อนเค้าโครง
4) Header: เลือกรูปแบบ Header มี Default เป็นค่าเริ่มต้น
5) Footer: เลือกรูปแบบ Footer มี Default เป็นค่าเริ่มต้น
6) Column: เลือกรูปแบบ Column ว่าต้องการให้แสดงผลแบ่งเป็นกี่คอลัมน์ มี 12 เป็นค่าเริ่มต้น
3. ปุ่มข้อความเค้าโครง
ใช้สำหรับค้นหาข้อความ เพื่อทำการแก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงข้อความ ที่มีการใส่ไว้ให้
วิธีใช้งาน:
1) ทำการกดปุ่มข้อความเค้าโครง เมื่อกดจะมีหน้าต่างข้อความเค้าโครง ขึ้นมา
2) ให้กรอกข้อความที่ต้องการเปลี่ยนในช่องค้นหาคำ แล้วกด Enter ข้อความจะแสดงขึ้นมาให้เห็นด้านล่าง
(กรณีมีคำซ้ำหลายคำให้ดูที่หัวข้อ ฟิลด์ ประกอบ)
3) หลังทำการแก้ไข/ เปลี่ยนแปลงข้อความในช่อง ค่า แล้ว ให้ทำการติ๊กที่ช่องสี่เหลี่ยม หัวข้อ Select แล้วกดปุ่มบันทึกการเปลี่ยนแปลง
4) กดออกจากหน้าข้อความเค้าโครง แล้วกดปุ่มอัปเดตแคช (4.)
4. ปุ่มอัพเดทแคช
หลังทำการเปลี่ยนแปลงข้อมูลต่าง ๆ ในเมนูเค้าโครง ต้องกดปุ่มอัพเดทแคช เพื่อให้ตัวระบบอัพเดทค่าด้วย
5. ปุ่มดำเนินการ
เป็นปุ่มสำหรับจัดการตัวเค้าโครงที่มีการสร้างไว้แล้ว
5.1 แก้ไข
เมื่อทำการกดปุ่มแก้ไข จะแสดงหน้าต่างขึ้นมา โดยแบ่งเป็น 3 แถบ
5.1.1 แถบรายละเอียด: แสดงข้อมูลเบื้องต้นของเค้าโครงนั้น ๆ
5.1.2 แถบพื้นที่: แสดงแถบพื้นที่ทั้งหมดที่ใช้งานอยู่ในเค้าโครงที่เลือก เช่น เค้าโครงหลัก Home
1) ปุ่มเพิ่มพื้นที่: ใช้สำหรับเพิ่มพื้นที่ใหม่ นอกเหนือจากพื้นที่แม่แบบที่มีการตั้งค่าไว้ให้แล้ว
1.1) Title: ใส่ชื่อพื้นที่ แบ่งตามภาษา เช่น Title (th) เป็นที่ใส่ชื่อหน้าภาษาไทย
1.2) Slug: ตั้งชื่อ Slug ให้ตั้งเป็นภาษาอังกฤษตัวพิมพ์เล็กทั้งหมด ห้ามเว้นวรรค แต่ใช้ขีดกลางหรือขีดล่างได้ (ห้ามซ้ำกับที่เคยตั้งแล้ว)
1.3) Status: เลือก Show เพื่อให้แสดงเค้าโครง หรือเลือก Draft เพื่อทำการซ่อนเค้าโครง
1.4) Column: เลือกรูปแบบ Column ว่าต้องการให้แสดงผลแบ่งเป็นกี่คอลัมน์ มี 12 เป็นค่าเริ่มต้น
1.5) Alignment: เลือกรูปแบบการจัดวาง มี Center เป็นค่าเริ่มต้น (การจัดวางไว้กึ่งกลาง)
1.6) Background: เลือกสีของพื้นที่
2) ชุดพื้นที่แบ่งเป็น 2 ส่วน
2.1) พื้นที่หลัก: มีเมนูย่อย 4 เมนู
1) Add: ปุ่มเพิ่มพื้นที่รอง
1.1) Title: ใส่ชื่อพื้นที่รอง แบ่งตามภาษา เช่น Title (th) เป็นที่ใส่ชื่อหน้าภาษาไทย
1.2) Element: เลือก Element ที่ต้องการ
1.3) Preset: สามารถเลือก preset หลังจากกดบันทึก และกดเข้ามาแก้ไข
1.4) Status: เลือก Show เพื่อให้แสดงเค้าโครง หรือเลือก Draft เพื่อทำการซ่อนเค้าโครง
1.5) Column: เลือกรูปแบบ Column ว่าต้องการให้แสดงผลแบ่งเป็นกี่คอลัมน์ มี 12 เป็นค่าเริ่มต้น
1.6) Alignment: เลือกรูปแบบการจัดวาง มี Center เป็นค่าเริ่มต้น (การจัดวางไว้กึ่งกลาง)
1.7) Cache:
เลือก Yes ถ้าต้องการให้เก็บค่าแคช
เลือก No ถ้าไม่ต้องการให้เก็บค่าแคช
2) ไอคอนลูกตา: กดเพื่อเปิดใช้งาน หรือกดเพื่อปิดการใช้งาน
3) แก้ไข: ปุ่มแก้ไขรายละเอียดของพื้นที่หลัก
4) ลบ: ปุ่มลบพื้นที่หลัก
2.2) พื้นที่รอง: มีเมนูย่อย 2 เมนู
1) แก้ไข: ปุ่มแก้ไขรายละเอียดของพื้นที่รอง
2) ลบ: ปุ่มลบพื้นที่หลัก
5.1.3 แถบกำหนดค่า:
ใช้สำหรับค้นหาข้อความที่อยู่ในเค้าโครงที่เลือก เพื่อใช้แก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงข้อความ ที่มีการใส่ไว้ให้
วิธีใช้งาน: เหมือนปุ่มข้อความเค้าโครง (3.)
5.2 ลบ
กดเพื่อทำการลบเค้าโครงที่ไม่ต้องการใช้ออก เมื่อกดจะมีหน้าต่างขึ้นมา ถ้ายืนยันที่จะลบให้กดปุ่มตกลง หากลบแล้วจะไม่สามารถให้ข้อมูลกลับมาได้ (หากไม่แน่ใจให้กดแก้ไขแล้วปรับ status เป็น draft เพื่อซ่อน)
ปรับ Widget ในหน้าแรก หรือ เค้าโครงหน้าแรก
การใช้งาน
1 เรียกดึงข้อมูล Widget ต่างๆมาแสดงในหน้าแรก เช่น จัดเรียงข้อมูล Blog ,Catagory ,Brands, Flash Sales , Product มาแสดงในหน้าแรก ตามที่ Package และ theme รองรับ
2 .ใช้ปรับเปลี่ยน banner ตามจุดต่างๆในหน้าแรก
3ใช้สำหรับการปรับเปลี่ยนข้อมูล ในหน้าแรก เช่น text โปรยในหน้าแรก