การเพิ่มหมวดหมู่สินค้าที่ฐานข้อมูลกลาง

​​​​​​​​​​​​​​การเพิ่มหมวดหมู่สินค้าที่ฐานข้อมูลกลาง
​​​​​​​เข้าใช้ผ่านเมนู สินค้าและบริการ -> หมวดหมู่
เป็นระบบเพิ่มหมวดหมู่สินค้าสำหรับแยกสินค้าออกเป็นหมวด ๆ ให้ง่ายต่อการใช้งาน

แบ่งการใช้งานเป็น 3 ส่วนดังนี้

1. ปุ่มเพิ่มหมวดหมู่: เป็นปุ่มใช้สำหรับเพิ่มหมวดหมู่สินค้าหมวดใหม่
2. แก้ไข: ใช้เพื่อเข้าไปแก้ไขหมวดหมู่สินค้าที่มีการสร้างไว้
3. ลบ: กดเพื่อทำการลบหมวดหมู่สินค้าที่ไม่ต้องการ
4. การสร้างหมวดหมู่ย่อย: เป็นสร้างเพื่อแยกประเภทของหมวดหมู่ และเพื่อให้ง่ายต่อการใช้งาน


1. ปุ่มเพิ่มหมวดหมู่
เป็นปุ่มใช้สำหรับเพิ่มหมวดหมู่สินค้าหมวดใหม่
วิธีใช้งาน: ทำการกดปุ่มเพิ่มหมวดหมู่ จะมีหน้าต่างเพิ่มหมวดหมู่แสดงขึ้นมา



  1) Title: ตั้งชื่อหมวดหมู่ แบ่งตามภาษา เช่น Title (th) เป็นที่ใส่ชื่อหมวดหมู่ภาษาไทย
  2) Slug: ตั้งชื่อ Slug ของหมวดหมู่ ให้ตั้งเป็นภาษาอังกฤษตัวพิมพ์เล็กทั้งหมด ห้ามเว้นวรรค
      แต่ใช้ขีดกลางหรือขีดล่างได้ (ห้ามซ้ำกับที่เคยตั้งแล้ว)
  3) Parent: ใช้กรณีที่ต้องการให้หมวดหมู่ที่เพิ่งสร้างเป็นหมวดหมู่ย่อยของ Parent ที่เลือก
      (หากไม่ต้องการให้เป็นหมวดหมู่ย่อย ไม่ต้องเลือก Parent)
  4) Status: เลือก Show เพื่อให้แสดงแบนเนอร์ หรือเลือก Draft เพื่อทำการซ่อนแบนเนอร์ ​​​​​​



  5) Description: กรอกรายละเอียดของหมวดหมู่สินค้า แบ่งตามภาษา
​​​​​​​      เช่น Description (th) เป็นที่ใส่รายละเอียดของหมวดหมู่สินค้าหน้าภาษาไทย
  6) Short Description: กรอกรายละเอียดของหมวดหมู่สินค้าแบบย่อ แบ่งตามภาษา
      เช่น Short Description(th) เป็นที่ใส่รายละเอียดของหมวดหมู่สินค้าแบบย่อหน้าภาษาไทย
  7) Icon Class Name: สำหรับใส่ Class code เพื่อแสดงเป็นไอคอน
  8) Icon Image: สำหรับใส่รูปหมวดหมู่สินค้า โดยการลากรูปจากในคอมพิวเตอร์มาวาง
      หรือกดคลิกที่ปุ่ม ในช่องวางไฟล์ที่นี่ แล้วเลือกรูปที่อยู่ในคอมพิวเตอร์​​​​​​​
​​​​​​​
      *ข้อควรระวัง: ควรใช้รูปขนาดประมาณ 800 x 600 pixel โดยเน้นให้ตัวสินค้าอยู่ตรงกลางรูป เพื่อให้รองรับการแสดงผลในหน้าหมวดหมู่สินค้า (แสดงผลเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัส)
​​​​​​​
​​​​​​​


2. แก้ไข
ใช้เพื่อเข้าไปแก้ไขหมวดหมู่สินค้าที่มีการสร้างไว้


3. ลบ
กดเพื่อทำการลบหมวดหมู่สินค้าที่ไม่ต้องการ เมื่อทำการกดจะมีหน้าต่างยืนยันการลบแสดงขึ้นมา


4. การสร้างหมวดหมู่ย่อย
เป็นสร้างเพื่อแยกประเภทของหมวดหมู่ และเพื่อให้ง่ายต่อการใช้งาน สามารถทำได้ 2 วิธี

1. เข้าไปแก้ไขหมวดหมู่ที่ต้องการให้เป็นหมวดหมู่ย่อย แล้วกดที่ที่หัวข้อ Parent ทำการเลือกหมวดหมู่ที่ต้องการให้เป็นหมวดหมู่หลัก

    เช่น เข้าไปแก้ไขหมวดหมู่ Tops แล้วเลือก Parent เป็น Clothing แล้วกดบันทึก
​​​​​​​

​​​​​​​​​​​​​​2. ทำการคลิกซ้ายค้าง ที่ขีดสามขีด แล้วลากไปวางที่หมวดหมู่ที่ต้องการให้เป็นหมวดหมู่หลัก โดยการลากวางไปทางขวาตามรูป
​​​​​​​
​​​​​​​​​​​​​​