ตัวช่วยนำทาง(เมนูหลัก,และเมนูรองตามส่วนต่างๆในหน้าเว็บไซต์)



ตัวช่วยนำทาง
เป็นตัวช่วยจัดการเนื้อหาของระบบต่าง ๆ ของเว็บไซต์ เช่น เมนู เป็นต้น

ตัวอย่างที่ 1 ตัวช่วยนำทางส่วนเมนู Header เมนูหลักหน้าเว็บไซต์
สามารถแก้ไขโดย เข้าที่ เมนู เว็บไซต์และแอพ

เลือกเมนู เว็บไซต์ -- เลือกเว็บไซต์ คลิ๊กจัดการ

จะแสดง pop up ขึ้นมา เลือก เมนู ตัวช่วยนำทาง

เลือกไฟล์ที่ชื่อ default หรือ Home เลือกแก้ไข จะแสดงเมนูตามหน้าเว็บไซต์ขึ้นมา  สามารถกดแก้ไขหรือสลับเมนูหลักจากส่วนนี้ได้ ถ้าเมนูไหนไม่ได้ใช้สามารถกดซ่อนไว้ ไม่ต้องลบ
หมายเหตุ กรณีสำหรับการซ่อนเมนู ลูกค้าที่เซฟ link หน้านั้นไว้จะสามารถเข้าดูรายละเอียด หรือซื้อสินค้าหน้านั้นได้อยู่
หากมีการขาย Voucher หรือ สินค้าโปรโมชั่นที่กำหนดช่วงการขาย ควร ซ่อนสินค้าที่หมดโปรโมชั่นด้วย และ ข้อมูลเนื้อหาที่ไม่ต้องการให้เข้าถึงควรปรับสถานะที่หน้าเพจเป็นซ่อน
​​​​​​


​​​​

หลังจากนั้นกดบันทึกเและ กดอัพเดตแคช เมนูหลักหน้าเว็บก็จะเปลี่ยนตาม
​​​​​​​




ตัวอย่างที่ 2 ตัวช่วยนำทางส่วนเนื้อหา

ตัวอย่างที่ 3 ตัวช่วยนำทางส่วนเมนู Footer
​​​​​​​


​​​​​​​1. ปุ่มลบที่ไม่ได้ใช้: ​​​​​​​ใช้สำหรับลบระบบที่ไม่ได้ใช้งาน และไม่ได้ผูกไว้กับระบบตัวช่วยนำทาง
2. ปุ่มเพิ่มการนำทาง: ใช้สำหรับเพิ่มตัวช่วยนำทางนอกเหนือจากระบบตัวช่วยนำทางที่มีการตั้งค่าไว้ให้
3. ปุ่มดำเนินการ: ปุ่มดำเนินการ เป็นตัวจัดการตัวช่วยนำทางที่มีการตั้งค่าไว้ให้แล้ว หรือที่ทำการเพิ่มใหม่


1. ​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​ปุ่มลบที่ไม่ได้ใช้
​​​​​​​ใช้สำหรับลบระบบที่ไม่ได้ใช้งาน และไม่ได้ผูกไว้กับระบบตัวช่วยนำทาง
วิธีใช้งาน: ทำการกดปุ่มลบที่ไม่ได้ใช้ เมื่อกดจะมีหน้าต่างขึ้นมา ถ้ายืนยันที่จะลบให้กดปุ่มตกลง​​​​​​​


2. ปุ่มเพิ่มการนำทาง
ใช้สำหรับเพิ่มตัวช่วยนำทางนอกเหนือจากระบบตัวช่วยนำทางที่มีการตั้งค่าไว้ให้
วิธีใช้งาน: ทำการกดปุ่มเพิ่มตัวช่วยนำทาง จะมีหน้าต่างเพิ่มตัวช่วยนำทางแสดงขึ้นมา



  1) ​​​​​​​ชื่อ: ตั้งชื่อตัวช่วยนำทาง แบ่งตามภาษา เช่น ชื่อ (th) เป็นที่ใส่ชื่อตัวช่วยนำทางภาษาไทย
  2) Slug: ตั้งชื่อ Slug ของหมวดหมู่ ให้ตั้งเป็นภาษาอังกฤษตัวพิมพ์เล็กทั้งหมด ห้ามเว้นวรรค แต่ใช้ขีดกลางหรือขีดล่างได้ (ห้ามซ้ำกับที่เคยตั้งแล้ว)
​​​​​​​  3) สถานะ: เลือกแสดง เพื่อให้แสดงตัวช่วยนำทาง หรือเลือกซ่อน เพื่อทำการซ่อนตัวช่วยนำทาง


3. ​​​​​​​ดำเนินการ
ปุ่มดำเนินการ เป็นตัวจัดการตัวช่วยนำทางที่มีการตั้งค่าไว้ให้แล้ว หรือที่ทำการเพิ่มใหม่ แบ่งเป็นปุ่มแก้ไข กับลบ

  3.1 แก้ไข: กดเพื่อเข้าไปแก้ไขตัวช่วยนำทางที่ต้องการ เมื่อทำการกดเข้าไป จะแสดงแถบขึ้นมา 2 แถบ

     3.1.1 แถบรายละเอียด: แสดงข้อมูลเบื้องต้นของตัวช่วยนำทางนั้น ๆ 

     3.1.2 แถบลิงก์: แสดงรายการตัวช่วยนำทางต่าง ๆ ที่มีการเชื่อมไว้

              1) เพิ่มลิงก์: การเพิ่มลิงก์ของตัวช่วยนำทาง แบ่งเป็น 2 แถบ

 
                 1.1) แถบบทนำ
                           1.1.1) Title: ตั้งชื่อตัวช่วยนำทาง แบ่งตามภาษา เช่น Title (th) เป็นที่ใส่ชื่อหมวดหมู่ภาษาไทย
                           1.1.2) Status: 
                                     - เลือก Show: เพื่อให้แสดงตัวช่วยนำทาง 
                                     - เลือก Draft: เพื่อทำการซ่อนตัวช่วยนำทาง
                           1.1.3) Parent: ใช้กรณีที่ต้องการให้ตัวช่วยนำทางที่เพิ่งสร้างเป็นตัวย่อยของ Parent ที่เลือก (หากไม่ต้องการให้เป็นตัวย่อย ไม่ต้องเลือก Parent)

                           1.1.4) Description: ช่องกรอกรายละเอียดของตัวช่วยนำทาง แบ่งตามภาษา เช่น Description (th) เป็นช่องกรอกรายละเอียดภาษาไทย
                           1.1.5) Submenu:
                                      - เลือก Yes: ถ้าต้องการใช้ระบบเมนูย่อย
                                      - เลือก No: ถ้าไม่ต้องการใช้ระบบเมนูย่อย
                           1.1.6) LinkType: เลือกรูปแบบการลิงก์ มีรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้
                                      - Page: เมื่อทำการกดลิงก์ จะลิงก์ไปหน้าเพจที่เลือก
                                      - Module: เมื่อทำการกดลิงก์ จะลิงก์ไปโมดูลที่เลือก
                                      - Text: เมื่อทำการกดลิงก์ จะแสดงข้อความตามที่ระบุ
                                      - Uri: เมื่อทำการกดลิงก์ จะลิงก์ไปหน้าเว็บภายในที่ระบุ เช่น ถ้าระบุว่า /products จะทำการลิงก์ไปหน้ารวมสินค้า
                                      - Url: เมื่อทำการกดลิงก์ จะลิงก์ไปเว็บอื่นที่ระบุ เช่น http://www.hotmail.com/
                           1.1.7) จะเปลี่ยนตามการเลือกจากข้อ 1.1.6 เช่น จากรูปเลือก Page จะมีรูปแบบ Page มาให้เลือก
​​​​​​​
                   1.2) แถบเมนูย่อย: จะแสดงเมื่อทำการเลือก Submenu เป็น Yes แล้วกดบันทึก (จากข้อ 1.1.5)


​​​​​​​                           1.2.1) Module: เลือกโมดูลของระบบที่ต้องการนำมาเชื่อม มี 2 โมดูลดังนี้
                                     - Product Category: โมดูลหมวดหมู่สินค้า
                                     - Collection: โมดูลคอลเลคชั่น
                           1.2.2) Data: หลังทำการเลือกโมดูลแล้ว จะมีข้อมูลของโมดูลนั้น ๆ มาให้เลือก เช่น เลือกโมดูลหมวดหมู่สินค้า จะมีหมวดหมู่สินค้าที่ทำการใส่ไว้มาให้เลือก

                   1.3) ไอคอน: 


                           1.3.1) Icon Class Name: สำหรับใส่ Class code เพื่อแสดงเป็นไอคอน
                           1.3.2) Icon Image: สำหรับใส่รูป โดยการลากรูปจากในคอมพิวเตอร์มาวางที่ช่อง Choose file หรือกดคลิกที่ปุ่ม Browse แล้วเลือกรูปที่อยู่ในคอมพิวเตอร์
​​​​​​​​​​​​​​
              2) แก้ไข: แก้ไขรายการที่เลือก
              3) ลบ: ลบรายการที่เลือก​ (ถ้าไม่แน่ใจ ให้กดแก้ไข แล้วปรับสถานะเป็น Draft ไว้ก่อน)

  3.2 ลบ: ปุ่มลบตัวช่วยนำทางที่ไม่ใช้งานแล้ว เมื่อทำการกดปุ่ม จะแสดงหน้าต่างยืนยันก่อนทำการลบอีกครั้ง 
​​​​​​​              (ถ้าไม่แน่ใจให้กดแก้ไข แล้วปรับสถานะเป็น ซ่อน ไว้ก่อน)