ตัวช่วยนำทาง
ตัวช่วยนำทาง
เป็นตัวช่วยจัดการเนื้อหาของระบบต่าง ๆ ของเว็บไซต์ เช่น เมนู เป็นต้น
ตัวอย่างที่ 1 ตัวช่วยนำทางส่วนเมนู Header
ตัวอย่างที่ 2 ตัวช่วยนำทางส่วนเนื้อหา
ตัวอย่างที่ 3 ตัวช่วยนำทางส่วนเมนู Footer
1. ปุ่มลบที่ไม่ได้ใช้: ใช้สำหรับลบระบบที่ไม่ได้ใช้งาน และไม่ได้ผูกไว้กับระบบตัวช่วยนำทาง
2. ปุ่มเพิ่มการนำทาง: ใช้สำหรับเพิ่มตัวช่วยนำทางนอกเหนือจากระบบตัวช่วยนำทางที่มีการตั้งค่าไว้ให้
3. ปุ่มดำเนินการ: ปุ่มดำเนินการ เป็นตัวจัดการตัวช่วยนำทางที่มีการตั้งค่าไว้ให้แล้ว หรือที่ทำการเพิ่มใหม่
1. ปุ่มลบที่ไม่ได้ใช้
ใช้สำหรับลบระบบที่ไม่ได้ใช้งาน และไม่ได้ผูกไว้กับระบบตัวช่วยนำทาง
วิธีใช้งาน: ทำการกดปุ่มลบที่ไม่ได้ใช้ เมื่อกดจะมีหน้าต่างขึ้นมา ถ้ายืนยันที่จะลบให้กดปุ่มตกลง
2. ปุ่มเพิ่มการนำทาง
ใช้สำหรับเพิ่มตัวช่วยนำทางนอกเหนือจากระบบตัวช่วยนำทางที่มีการตั้งค่าไว้ให้
วิธีใช้งาน: ทำการกดปุ่มเพิ่มตัวช่วยนำทาง จะมีหน้าต่างเพิ่มตัวช่วยนำทางแสดงขึ้นมา
1) ชื่อ: ตั้งชื่อตัวช่วยนำทาง แบ่งตามภาษา เช่น ชื่อ (th) เป็นที่ใส่ชื่อตัวช่วยนำทางภาษาไทย
2) Slug: ตั้งชื่อ Slug ของหมวดหมู่ ให้ตั้งเป็นภาษาอังกฤษตัวพิมพ์เล็กทั้งหมด ห้ามเว้นวรรค แต่ใช้ขีดกลางหรือขีดล่างได้ (ห้ามซ้ำกับที่เคยตั้งแล้ว)
3) สถานะ: เลือกแสดง เพื่อให้แสดงตัวช่วยนำทาง หรือเลือกซ่อน เพื่อทำการซ่อนตัวช่วยนำทาง
3. ดำเนินการ
ปุ่มดำเนินการ เป็นตัวจัดการตัวช่วยนำทางที่มีการตั้งค่าไว้ให้แล้ว หรือที่ทำการเพิ่มใหม่ แบ่งเป็นปุ่มแก้ไข กับลบ
3.1 แก้ไข: กดเพื่อเข้าไปแก้ไขตัวช่วยนำทางที่ต้องการ เมื่อทำการกดเข้าไป จะแสดงแถบขึ้นมา 2 แถบ
3.1.1 แถบรายละเอียด: แสดงข้อมูลเบื้องต้นของตัวช่วยนำทางนั้น ๆ
3.1.2 แถบลิงก์: แสดงรายการตัวช่วยนำทางต่าง ๆ ที่มีการเชื่อมไว้
1) เพิ่มลิงก์: การเพิ่มลิงก์ของตัวช่วยนำทาง แบ่งเป็น 2 แถบ
1.1) แถบบทนำ
1.1.1) Title: ตั้งชื่อตัวช่วยนำทาง แบ่งตามภาษา เช่น Title (th) เป็นที่ใส่ชื่อหมวดหมู่ภาษาไทย
1.1.2) Status:
- เลือก Show: เพื่อให้แสดงตัวช่วยนำทาง
- เลือก Draft: เพื่อทำการซ่อนตัวช่วยนำทาง
1.1.3) Parent: ใช้กรณีที่ต้องการให้ตัวช่วยนำทางที่เพิ่งสร้างเป็นตัวย่อยของ Parent ที่เลือก (หากไม่ต้องการให้เป็นตัวย่อย ไม่ต้องเลือก Parent)
1.1.4) Description: ช่องกรอกรายละเอียดของตัวช่วยนำทาง แบ่งตามภาษา เช่น Description (th) เป็นช่องกรอกรายละเอียดภาษาไทย
1.1.5) Submenu:
- เลือก Yes: ถ้าต้องการใช้ระบบเมนูย่อย
- เลือก No: ถ้าไม่ต้องการใช้ระบบเมนูย่อย
1.1.6) LinkType: เลือกรูปแบบการลิงก์ มีรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้
- Page: เมื่อทำการกดลิงก์ จะลิงก์ไปหน้าเพจที่เลือก
- Module: เมื่อทำการกดลิงก์ จะลิงก์ไปโมดูลที่เลือก
- Text: เมื่อทำการกดลิงก์ จะแสดงข้อความตามที่ระบุ
- Uri: เมื่อทำการกดลิงก์ จะลิงก์ไปหน้าเว็บภายในที่ระบุ เช่น ถ้าระบุว่า /products จะทำการลิงก์ไปหน้ารวมสินค้า
- Url: เมื่อทำการกดลิงก์ จะลิงก์ไปเว็บอื่นที่ระบุ เช่น http://www.hotmail.com/
1.1.7) จะเปลี่ยนตามการเลือกจากข้อ 1.1.6 เช่น จากรูปเลือก Page จะมีรูปแบบ Page มาให้เลือก
1.2) แถบเมนูย่อย: จะแสดงเมื่อทำการเลือก Submenu เป็น Yes แล้วกดบันทึก (จากข้อ 1.1.5)
1.2.1) Module: เลือกโมดูลของระบบที่ต้องการนำมาเชื่อม มี 2 โมดูลดังนี้
- Product Category: โมดูลหมวดหมู่สินค้า
- Collection: โมดูลคอลเลคชั่น
1.2.2) Data: หลังทำการเลือกโมดูลแล้ว จะมีข้อมูลของโมดูลนั้น ๆ มาให้เลือก เช่น เลือกโมดูลหมวดหมู่สินค้า จะมีหมวดหมู่สินค้าที่ทำการใส่ไว้มาให้เลือก
1.3) ไอคอน:
1.3.1) Icon Class Name: สำหรับใส่ Class code เพื่อแสดงเป็นไอคอน
1.3.2) Icon Image: สำหรับใส่รูป โดยการลากรูปจากในคอมพิวเตอร์มาวางที่ช่อง Choose file หรือกดคลิกที่ปุ่ม Browse แล้วเลือกรูปที่อยู่ในคอมพิวเตอร์
2) แก้ไข: แก้ไขรายการที่เลือก
3) ลบ: ลบรายการที่เลือก (ถ้าไม่แน่ใจ ให้กดแก้ไข แล้วปรับสถานะเป็น Draft ไว้ก่อน)
3.2 ลบ: ปุ่มลบตัวช่วยนำทางที่ไม่ใช้งานแล้ว เมื่อทำการกดปุ่ม จะแสดงหน้าต่างยืนยันก่อนทำการลบอีกครั้ง
(ถ้าไม่แน่ใจให้กดแก้ไข แล้วปรับสถานะเป็น ซ่อน ไว้ก่อน)